ข้อมูลและรูปแบบของข้อมูล
พิจารณาการประมวลผลข้อมูลในองค์กร
เราอาจแบ่งที่มีของข้อมูลได้ 2 ประเภท คือ
1.
ข้อมูลภายใน เป็นข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น
ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่เกิดจากการปฏิบัติงาน ของสมาชิกในองค์กร
2. ข้อมูลภายนอก
เป็นข้อมูลหรือข้อเท็จจริง
ที่เกิดขึ้นจากหน่วยงานอื่นๆ นอกองค์กรที่เกี่ยวข้อง
การแบ่งข้อมูลตามแหล่งข้อมูล
ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรงด้วยวิธีต่างๆ
เช่น จากการสอบถามการสัมภาษณ์การสำรวจการจดบันทึก
ข้อมูลทุติยภูมิ
(Secondary
Data) คือ
การนำข้อมูลที่ผู้อื่นได้เก็บรวบรวมหรือบันทึกไว้มาใช้งานผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมและบันทึกด้วยตนเอง จัดเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต มักผ่านการประมวลผลแล้ว
ข้อมูลทั่วๆไปที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน
เช่น เสียง รูปภาพ เป็นปริมาณที่มีค่าต่อเนื่องเรียกว่าปริมาณ อนาลอก (analog)
ถ้าหากให้คอมพิวเตอร์เข้าใจปริมาณเหล่านี้ ต้องเปลี่ยนปริมาณอนาลอกให้เป้ฯปริมาณ
ดิจิตอล ( digital) ซึ่งเป็นปริมาณที่ไม่ต่อเนื่อง
เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ประมวลผลด้วนสัญญาณดิจิตอล
สัญญาณนี้จะมีแรงดันไฟฟ้าสองระดับ
แทนด้วยระดับลอจิสูง “1”
และลอจิต่ำแทนด้วย “0”
ซึ่งข้อมูลแต่ละค่าเรียกว่าบิต
หน่วยความจุของข้อมูลที่ใช้ในปัจจุบันมีดังนี้
บิต
เป็นหน่วยความจุของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ สัญญาณไฟฟ้าเปิดหรือปิด 1 ครั้ง แทนด้วยตัวเลข 0 หรือ 1 มีอักษรย่อเป็น b
ไบต์ คือ การนำตัวเลข 0 และ 1 มาเรียงต่อกัน เพื่อแทนค่ารหัสตัวอักษร โดยปกติจะต้องใช้จำนวน 8 บิต จึงจะสามารถแทนค่าได้ 1 ตัวอักษร มีอักษรย่อเป็น B
กิโลไบต์ คือ การนำไบต์มารวมกันจำนวน 1,024 ไบต์ จะมีค่าเท่ากับ 1 กิโลไบต์ ซึ่งมีขนาดประมาณ 1 ย่อหน้าของกระดาษขนาด A4 มีอักษรย่อเป็น KB
ไบต์ คือ การนำตัวเลข 0 และ 1 มาเรียงต่อกัน เพื่อแทนค่ารหัสตัวอักษร โดยปกติจะต้องใช้จำนวน 8 บิต จึงจะสามารถแทนค่าได้ 1 ตัวอักษร มีอักษรย่อเป็น B
กิโลไบต์ คือ การนำไบต์มารวมกันจำนวน 1,024 ไบต์ จะมีค่าเท่ากับ 1 กิโลไบต์ ซึ่งมีขนาดประมาณ 1 ย่อหน้าของกระดาษขนาด A4 มีอักษรย่อเป็น KB
เมกะไบต์ คือ การนำกิโลไบต์มารวมกันจำนวน 1,024 กิโลไบต์
จะมีค่าเท่ากับ 1 เมกะไบต์ ซึ่งมีขนาด ประมาณเรื่องสั้น 1 เรื่อง มีอักษรย่อเป็น MB
การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์นั้นข้อมูลต้องอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์เข้าใจ
รหัสแทนข้อมูลที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารหรือสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานเป็นระบบเลขฐานสอง
ประกอบด้วย 0 ,1 ซึ่งแต่ละหลักของระบบตัวเลขฐานสองเรียกว่า
บิต
เมื่อนำตัวเลขมาเรียงต่อกันจะเกิดเป็นอักขระ สัญลักษณ์ หรือ
คำสั่งต่างๆเช่น 01000111 แทนด้วยตัวอักขระ G
รหัสแทนข้อมูลที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์
ได้แก่ รหัสแอสกี รหัสเอบชีดิก และรหัสยูนิโค้ด โดยมีรายละเอียดดังนี้
รหัสแอสกี
รหัสแอสกี้
เป็นรหัสแทนข้อมูลที่นิยมใช้มากที่สุด โดยใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือ 1 ไบต์
แทนอักขระ หรือสัญลักษณ์แต่ละตัว ดังตัวอย่าง
รหัสเอบซีดิก
รหัสเอบซีดิก
เป็นรหัสแทนข้อมูลที่ไม่เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีการกำหนดรหัส 8 บิต ต่อ 1
อักขระ เหมือนรหัสแอสกี แต่รูปแบบการเรียงอักขระแตกต่างกัน
โดยรหัสเอบซีดิกจะเรียงลำดับแต่ละบิตที่ใช้แทนอักขระ ดังตัวอย่าง
รหัสยูนิโค้ด
รหัสเอบซีดิก
เป็นรหัสแทนข้อมูลที่ใช้เลขฐานสอง 16 บิต ในการแทนตัวอักษรต่างประเทศบางประเทศ และสัญลักษณ์ทางกราฟิกต่างๆ
ในการติดต่อใช้งานหรือสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
นอกจากจะใช้ระบบตัวเลขฐานสองแล้วยังต้องเกี่ยวข้องกับระบบตัวเลขฐานแปดและฐานสิบหกอีกด้วย
ดังนั้น
มนุษย์จึงต้องศึกษาวิธีการเปลี่ยนระบบตัวเลขฐานแปดและฐานสิหกให้เป็นระบบตัวเลขฐานสองให้คล่องแคล่ว
เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมภาษาต่อไป
ระบบเลขฐาน
ระบบเลขฐาน
1. ระบบเลขฐานสิบ มีสัญลักษณ์จำนวน 10 ตัว ได้แก่ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, และ 9 การอ่านตัวเลขในระบบเลขฐานสิบ นิยมอ่านโดยกำหนดตามหลักของตัวเลขฐานสิบ เช่น อ่านว่าหนึ่งหมื่นหกพันแปดร้อยยี่สิบห้า
1. ระบบเลขฐานสิบ มีสัญลักษณ์จำนวน 10 ตัว ได้แก่ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, และ 9 การอ่านตัวเลขในระบบเลขฐานสิบ นิยมอ่านโดยกำหนดตามหลักของตัวเลขฐานสิบ เช่น อ่านว่าหนึ่งหมื่นหกพันแปดร้อยยี่สิบห้า
2.
ระบบเลขฐานสอง เป็นระบบพื้นฐานที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีสัญลักษณ์จำนวน
2 ตัว ได้แก่
0
และ 1 การอ่านตัวเลขในระบบฐานสองจะอ่านเรียงลำดับตามตัวเลขแล้วตามด้วยเลขฐาน เช่น
อ่านว่า หนึ่ง-ศูนย์-หนึ่ง-หนึ่ง-ศูนย์-หนึ่ง-ฐานสอง
3. ระบบเลขฐานแปด เป็นระบบเลขฐานที่ใช้เพื่อช่วยลดจำนวนของข้อมูลในระบบเลขฐานสอง
ในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีสัญลักษณ์จำนวน 8 ตัว ได้แก่ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6 และ 7 การอ่านตัวเลขในระบบเลขฐานแปด จะอ่านเรียงลำดับตัวเลขแล้วตามด้วยเลขฐาน เช่น อ่านว่า สี่-สาม-หก-เจ็ด-ฐานแปด
4. ระบบเลขฐานสิบหก เป็นระบบเลขฐานที่ใช้เพื่อช่วยลดจำนวนของข้อมูลในระบบเลขฐานสองและ
ระบบเลขฐานแปด มีสัญลักษณ์จำนวน 16 ตัว โดยใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นมา ได้แก่ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, A, B, C, D, E และ F การอ่านตัวเลขในระบบเลขฐานสิบหก จะอ่านเรียงลำดับตัวเลขแล้วตามด้วยเลขฐาน เช่น อ่านว่า หนึ่ง-ซี-เจ็ด-ฐานสิบหก
และ 1 การอ่านตัวเลขในระบบฐานสองจะอ่านเรียงลำดับตามตัวเลขแล้วตามด้วยเลขฐาน เช่น
อ่านว่า หนึ่ง-ศูนย์-หนึ่ง-หนึ่ง-ศูนย์-หนึ่ง-ฐานสอง
3. ระบบเลขฐานแปด เป็นระบบเลขฐานที่ใช้เพื่อช่วยลดจำนวนของข้อมูลในระบบเลขฐานสอง
ในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีสัญลักษณ์จำนวน 8 ตัว ได้แก่ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6 และ 7 การอ่านตัวเลขในระบบเลขฐานแปด จะอ่านเรียงลำดับตัวเลขแล้วตามด้วยเลขฐาน เช่น อ่านว่า สี่-สาม-หก-เจ็ด-ฐานแปด
4. ระบบเลขฐานสิบหก เป็นระบบเลขฐานที่ใช้เพื่อช่วยลดจำนวนของข้อมูลในระบบเลขฐานสองและ
ระบบเลขฐานแปด มีสัญลักษณ์จำนวน 16 ตัว โดยใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นมา ได้แก่ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, A, B, C, D, E และ F การอ่านตัวเลขในระบบเลขฐานสิบหก จะอ่านเรียงลำดับตัวเลขแล้วตามด้วยเลขฐาน เช่น อ่านว่า หนึ่ง-ซี-เจ็ด-ฐานสิบหก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น